Sunday, September 28, 2008

The iceberg of Malpractice
 




คดีที่พิพากษาแล้วว่าเป็น 
"malpractice"

ลองพิจารณาดู 
iceberg modelง่ายๆกัน 







[Clinical vignette]
case "epistaxis BP 230/120 ยังรู้เรื่องอยู่"  จนต่อมาอีก 15 นาที >>> arrest ในER : asystole no pulse ...พยาบาลตามมาดูcase 4  ครั้ง แล้วมาช้า  และ   พอมาถึงER ให้ atropine ไปทั้งหมด 5 amp + CPR ตามเรื่องตามราวไป สุดท้ายตาย ญาติไม่พอใจ จึงวีนกันในER 
 
>>>  malpractice ชัวร์ๆ เพราะ มีหลักฐานทั้ง ประจักษ์พยาบาล(ประจักษ์พยาน) และ nurse note ...ผิด 100 % 
>>> ดู iceberg model ของ contributing factors of malpractice ง่ายๆตามนี้  
 
10% >>>
อยู่เหนือน้ำและเราเห็นว่าเค้าผิด 
90% >>>
อยู่ใต้น้ำ เรามองไม่เห็น 
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
10% = หมอมาช้า,  หมอให้atropine ทั้งที่ไม่มี pulse และให้ตั้ง 5 amp [ให้ 5 amp นั้นผิด, ถ้าผู้ป่วยรอดก็คงตายจาก atropine 5 amp เนี้ยแหละ], พยาบาลตาม 4 รอบแล้ว, ด่าพยาบาลด้วย 
 
90% = case malpracticeที่ศาลตัดสินแล้วทั้งในและต่างประเทศ มักอาจจะมี underlying factor ที่ส่งผลทำให้เกิด malpractice เช่น 
 
     A. อยู่เวรมา 48 ชม แล้ว 
 
     B. การเป็นinternเมื่อ 8 ปีก่อน ทำให้หมอเค้ากลายเป็นคนใจร้อน  ขี้หงุดหงิด  วีนแตกได้ง่าย ไรงี้จากเมื่อก่อนติ๋มๆ ใจเย็น ทำบุญ ปล่อยวาง ไม่ใจร้อน 
 
     C. 6 วันก่อน แฟนบอกเลิก  เพราะ ทะเลาะกันบ่อย  อยู่ไกลกัน 600 km 
 
     D. เป็น sinusitis มา 1 อาทิตย์แล้ว 
 
     E. โดนญาติคนไข้เด็กด่า / ต่อว่ามาก่อนเมื่อกี้ : "หมอห่าอะไรแมร่ง ไม่ดูคนไข้เลย ลูกฉันโดนงูกัดมา  ไม่เห็นทำห่าไรให้เลย เซรุ่มแแก้พิษงูอ่ะ  หมอไม่รู้จักใช่มั๊ย  ส่งสัยท่าทางจะจบหมอมาจากเขมรแน่ๆ  กลับไปเป็นหมอเขมรดีกว่านะ แค่เซรุ่มแก้พิษงูยังไม่รู้จัก" 
 
     G. หมออึอยู่ ท้องเสีย ตั้งแต่เมื่อคืน + moderate dehydration  pulse
110/min แต่ต้องอยู่รับเวรเพราะต้อง ผ่อนรถและคอนโด 
     
     H. ไม่มีเวลาส่วนตัวเหลือในการทบทวนความรู้ เช่น เรื่องmanagementใน hypertensive crisis / ACLS 
 
     I. เมื่อเช้าขับรถมาอยู่เวร(วันอาทิตย์)>>>  โดนปาดหน้า +
roadrage = claimประกัน >>> หงุดหงิดตั้งแต่round caseแรกเลย 
 

     
underlying factor 90%>>>
physical stress
psychological stress
social/financial stress
spiritual deprivation 
 
สรุป คือ underlying factors ในแต่ละ "malpractice case" ก็มีมากน้อยต่างกัน   และอาจจะฟังดูเป็นข้ออ้างซะมากกว่ารึเปล่า?

 
ผิดหน่ะผิดจริงๆ>>>  แล้วพวกเราเองเห็นใจกันบ้างมั๊ย? ถ้าหากว่าเราเป็นเพื่อนสนิทเค้า อยู่โรงบาลเดียวกัน รู้นิสัยกัน  รู้ความเป็นไปของเพื่อนเรา  ผมว่าน่าเห็นใจมากกว่านะครับ 
 
[ญาติคนไข้ถามว่า  "แล้วไงจะไม่ชดเชยอะไรเลยใช่มั๊ย"]






malpractice ควรไปจบที่ 
"เงินชดเชยให้ผู้ที่เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์" 
  
ไม่ใช่ไปจบที่การฟ้องร้อง 

 ไม่ใช่ไปจบที่ ศาลอาญา 

 ไม่ใช่จบด้วยการฟ้องแพ่งแบบไม่มีขีดจำกัด 

เพื่อให้ระบบบริการสุขภาพไม่แย่และแบกรับ pressure ไปมากกว่านี้
  





การกล่าวขอโทษผู้ป่วย และ ญาติ + ยอมรับว่าผิดพลาด + ให้เงินชดเชย = น่าจะดีกว่า 
 
เพื่อหลีกเลี่ยงการเติบโตของmedical hub และ defensive medicine (ซึ่งทำให้ระบบบริการสุขภาพแย่ลงเร็วขึ้นโดยภาพรวม) 
 
 
ผมคิดว่า> 98%(คิดเอาเอง) ของ malpractice case>>> มันต่างจากคดีอาญา ที่มีผู้ได้รับความเสียหาย +เจตนาของจำเลย 
 
หมอในmalpractice case ไม่มีเจตนาโดยตรงจะทำให้เกิด malpractice 
(หมอไม่ใช่มือปืน หรือ พวกเมาแล้วขับชนคนตาย) 
 
แต่ถ้าแบบทำเป็นธุรกิจ เช่น ดูดไขมัน ทำแท้ง ฉีดglutathione  หรือ คลินิกเสริมความงามแปลกๆแถวดอนเมือง  ไร้งี้ก็ฟ้องไปเลย ไม่ต้องไปคำนึงถึงunderlying factorsอื่นๆ

No comments: